วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ระดับผู้ใช้านทั่วไปและมือใหม่

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ระดับผู้ใช้านทั่วไปและมือใหม่

สำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์(Graphic User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป

1)     สำหรับ ผู้ใช้มือใหม่ ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เครื่องมีปัญหาได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่มีราคาแพง

2)     สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ Photoshop แต่ง ภาพเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่ เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล

3)     สำหรับนักศึกาามหาวิทยาลัย ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาจะเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้นสามารถใช้งานโปรแกรม ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้ระดับนี้อาจจะประกอบเครื่องใช้เองได้ เพราะจะทำให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น การใช้งานเน้นไปทางพิมพ์งานส่งอาจารย์

4)     สำหรับผู้ใช้งาน Windows Vista จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงในระดับหนึ่ง ด้วยการเป็นซีพียู Dual Core พร้อมแรม 1GB ขึ้นไป ฮาร์ดิสก์ 250 GB หากตรงตามมาตรฐาน Window Vista Premium ต้องใช้ฮาร์ดิสก์แบบไฮบริดเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดจะมีราคาแพงมาก

5)     สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง หรือผู้ที่ชอบเล่นเกมส์จะต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง การประกอบเครื่องเองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ดังนั้นก่อนอื่นควรศึกษาและสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก่อนว่า แต่ละอย่างมีคุณสมบัติอย่างไร และราคาเท่าไร จากนั้นจึงหันกลับมาดูถึงความต้องการว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอะไร อย่างไร จากนั้นจึงเลือกสเป็คให้พอดีกับความต้องการ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิต (ยี่ห้อ) และราคาจะเป็นปัจจัยในการเลือกรองลงมา

7.2 วิธีกำหนดสเป็กเครื่อง (Specification)
วิธีกำหนดสเป็คเครื่อง
หลัง จากรู้ลักษณะการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วว่าจะอยู่ในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดสเป็คเครื่องที่รองรับการทำงานประจำที่จะเกิดขึ้นกับ เครื่องพีซีนั้น ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดสเป็คของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เหมาะสมแตกต่างกัน ไป โดยมีแนวทางในการเลือก เช่น
ขั้นต่ำ

ขั้นสูง


7.3 ลักษณะการเลือกซื้อเครื่องพีซี
การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเราควรทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่นซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หลัก คือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชิ้นในกรณีที่เราต้องการซื้ออุปกรณ์มา ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอง หรือเราต้องการอัพเกรดอุปกรณ์บางชิ้นภายในเครื่อง เช่น ต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุมากกว่าเดิม หรือซื้อแรมมาเพิ่มให้ประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น
    เนื้อหาในส่วนนี้จะให้รายระเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และไม่ถูกหลอกในการเลือกซื้อ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็นแผนภาพดังต่อไปนี้
ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนแรกที่เราควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานอะไร เป็นต้นเพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเราจะแบ่งระดับผู้ใช้งานเป็น 3 ประเภท คือ 1. Basic User ได้แก่ ผู้ใช้โปรแกรมประเภท Windows 95/98/Me,Ms Office และดูหนังฟังเพลง2. Power User ได้แก่ ผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกและเล่นเกม เช่น โปรแกรม Photoshop ,AutoCAD 3. Graphic User ได้แก่ ผู้ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop,AutoCADและ 3D Studio Max
7.4 ตัวอย่างการดูสเป็กเครื่องจากโบรชัวร์สินค้า
7.5 การตรวจสอบอุปกรณ์
หลังจากประกอบเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อไปจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่า เครื่องที่ประกอบนั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ทั้งยังเป็นการตรวจสอบความถูก ต้อง ของการประกอบเครื่องด้วย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การเปิดเครื่องเพื่อตรวจสอบระบบ ถ้าระบบผิดปกติจะสามารถทำงานได้คือ ที่จอภาพจะแสดงการทำงานของเครื่อง ถ้ามีอาการอื่นๆ เช่นมีเสียงดังปิ๊ปๆๆแสดงว่าเกิดจากการไม่ติดตั้งแรม (RAM) หากมีตารางเกิดขึ้นให้ตรวจสอบระบบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เช่นการเสียบการ์ดอาจจะหลวมหรือเสียบสายต่างๆผิดก็ได้ ถ้าเกิดการผิดพลาดจาก ฮาร์ดดิสก์ดิสก์ไดร์ฟ คีย์บอร์ดเมาส์จะมีข้อความแสดงข้อผิดพลาดที่จอภาพ ให้ดำเนินการแก้ไขจนไม่แสดงข้อผิดพลาดใดๆ
2. เมื่อตรวจสอบระบบเบื้องต้นผ่านแล้วต่อไปเป็นขั้นตอนที่จะต้องทำการ Setup BIOSเพื่อให้รู้จักฮาร์ดดิสก์โดยใช้ Menu Auto Detectเป็นการให้เครื่องค้นหาฮาร์ดดิสก์แล้ว มากำหนดให้รู้จักดิสก์ไดร์ฟ และให้ทำการบันทึก BIOS
3. ต่อไปก็เป็นการดำเนินการกับฮาร์ดดิสก์ถ้าหากยังไม่ได้จัดพาร์ติชั่น ฟอร์แมตก็ให้ดำเนินการและติดตั้งระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ตามต้องการ
7.6 เลือกซื้อซีพียู
สำหรับการเลือกซื้อ ซีพียู  ซึ่งเป็นที่ที่สำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง เพราะซีพียูเป็นตัวที่จะกำหนดอุปกรณ์อื่นๆด้วย  และเป็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์  การที่เครื่องเราจะแรงและเร็วแล้ว  ซีพียูเป็นตัวกำหนดหลักแทบทั้งสิ้น   เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้กำหนด  สเป็กการซื้อคอมพิวเตอร์  จากตัวซีพียูก่อนะครับ  จะขอเรียงลำคับการพิจารณาการเลือกซื้อดั้งต่อไปนี้
1.ความเร็วของ ซีพียู
ความเร็วของซีพียู   ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดนะครับ  โดยมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)”  ก็คือการที่ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีนั้นเอง  แต่ในปัจจุบันซีพียูนั้นมีความเร็วมากอยู่ในระดับ “กิกะเฮิรตซ์ (GHz)” แล้ว  เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์  คือซีพียูทำงานได้ถึง 1 พันล้านครั้ง  ต่อวินาที  ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz
2.หน่วยความจำแคช(Cache)
หน่วยความจำแคชก็เป็นหน่วยความจำหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจในการเลือก ซื้อ  เพราะแคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ  เพื่อส่งไปยังซีพียู  ซึ่งแคชเองทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์  ให้เชื่อมต่อกันเพราะฉะนั้นแล้วยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่า นั้นด้วย
ในปัจจุบันเองได้มีการเพิ่มเทคโนโลยี Pre-Fetch ในบางรุ่นจะมี ที่มีแคชถึงระดับ L3 ทำหน้าที่ในการคอยอ่านข้อมูลจากแรมมายังแควตลอกเวลา  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น  โดยความเร็วทั้ง 3 ระดับดังนี้
แคชระดับที่ 1 (L1) เป็นแคชขนาดเล็ก  เป็นแคชที่มีขนาดเล็กที่สุด  อยู่แค่ 32-128 KB เท่านั้น         และ  อยู่ใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด
แคชระดับที่ 2 (L2) จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเพราะจะทำการเก็บข้อมูลจากแรมเป็นหลัก
แคชระดับที่ 3 (L3) อยู่คั่นกลางระหว่างแรมกับแคช L2 โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนซึ่งมีประมาณ   2-8 MB และจะอยู่ใกล้กับบัสเพื่อสามารถที่จะถ่ายโดยข้อมูลไปยังส่วนต่างๆได้ง่าย ขึ้น
3.บัส(BUS)
ถือได้ว่ามีความสำคัญเหมือนกัน เพราะ บัสคือ นำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสใน คอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)  จะมีค่า FSB อย่างเช่น FSB 1066 เป็นต้น
4.ซีพียู จากค่ายต่างๆ
สำหรับซีพียูนี้ก็มี 2 ค่าย ใหญ่ที่ผลิตออกมาให้เราได้ใช้กันคือ Intel และ AMD
Intel เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แล้วยังเป็นผู้ผลิต ซีพียูรายแรกอีกด้วย  สำหรับซีพียู  ที่ Intel ผลิตนั้นก็มีหลาย รุ่นออกมาให้เลือก และต่างมีเทคโนโลยีที่ต่างกัน เช่น Intel , AMD ฯลฯ
5.งบประมาณ
ในสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของใครบางคน  คืองบประมาณนั้นล่ะครับ  บางคนอาจจะเป็นอันดับแรกเลยก็ว่าได้ครับ  ในปัจจุบันราคาต่ำมากจนแทบบอกได้ว่า  ไม่ถึงพันก็มีแต่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่จะได้รับด้วย  เดี๋ยวนี้ซีพียูราคาถูกๆ  ก็สามารถทำงานได้หลายอย่างแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกซื้อราคาแพงๆ  มาใช้

7.7 เลือกซื้อเมนบอร์ด
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญเช่นกัน  เพราะเป็นแผงวงจรที่เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในทั้งหมด  ที่สำคัญจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลายอย่างที่ติดมาพร้อมกับเมนบอร์ด  เพราะฉะนั้นคุณภาพในการใช้งานขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อด้วย  โดยจะมีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ซ็อกเก็ต
ซ็อกเก็ตมีตำแหน่งที่ติดตั้ง  ซีพียู  ซึ่งจะเลือกซ็อกเก็ตแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กันที่เราเลือกซื้อซีพียูด้วย  ไม่ว่าจะเป็นซ็อกเก็ตไหนเราก็ต้องที่จะเลือกซีพียูนั้นก่อนครับ  ถึงที่จะเลือกในขั้นต่อไปได้  ซึ้งได้ทำการเปรียบเทียวกับการเลือกซื้อ ซีพียู ก่อนหน้านี้แล้ว

2.ในเรื่องซิปเซ็ต

ซิปเซ็ตมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะเป็นสิ่งที่รองรับเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงรองรับอุปกรณ์ต่างๆด้วย  ควนที่จะคำนึงถึงตรงนี้ก่อนครับ  ว่าเข้ากับอุปกรณ์อะไรบ้าง  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 แบบก็คือ
– North Bridgeเป็นซิปเซตที่ควบคุมการทำงานที่ควบคุมอุปกรณ์หลักใหญ่ๆ  เลยได้แก่ ซีพียู แรมและ
สล็อตของการ์ดจอด้วย
– South Bridgeเป็นซิปเซต  ที่ควบคุมอุปกรณ์ที่นอกเหนือจาก North Bridge ที่ควบคุมอยู่  จะเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ  และสล็อตต่างๆด้วย
ยี่ห้อของซิปเซต
-ของ SiS เป็นซิปที่มีจำหน่ายมานานแล้ว  เคยได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งและมีราคาค่อยข้างที่จะถูกด้วย  แต่ในช่วงหลังมีคู่แข่งที่มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่ายี่ห้อของซิปเซตก็มีความ สำคัญเช่นกันเพราะเทคโนโลยีต่างๆ  เริ่มต้นจากตรงนี้เพราะฉะนั้นแล้วแต่ล่ะยี่ห้องจะมีความสามารต่างกันเช่น กัน  จะขอยกตาอย่างผู้ผลิตของซิปเซตต่างๆ  ดังนี้

-ของ VIA ซึ่งชิปนี้ได้รับความนิยมเมื่อก่อนเช่นกัน  แต่ในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้อยู่ในเรื่องของเทคโนโลยีแล้วก็ถือว่ายังไม่พัฒนา เท่าที่ควร  แต่ก็สามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้
-ของ Intel สำหรับคนที่ใช้ซีพียูของ Intel เท่านั้น  หากเปรียบเทียบแล้วคนที่ซีพียูของอินเทล  ต้องขอบอกว่าเป็นซิปเซตที่ดีที่สุด  เพราะในเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว  และก็ประสิทธิภาพการใช้งาน  ถือว่าดีที่สุด
-ของ nVidia ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับซีพียูของ AMD เป็นส่วนมาก และจะเน่นในเรื่องของการสนับสนุนอุปกรณ์ใหม่ๆได้ดีมาก

3.สล็อกต่างๆ
เป็นสิ่งสำคัญมากในการเลือกซื้อเช่นกัน  เพราะว่าจะเลือกแบบมี ที่ใส่แรม หรือสล็อก PCI มาแค่ไหนขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะมีอุปกรณ์ใดมาเสริมอีกหรือไม่

4.หน่วยความจำรอมไบออส 

ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม

5.ยี่ห้อ

ในปัจจุบันมียี่ห้อต่างๆมากมายที่ ผลิตเมนบอร์ดขึ้นมาใช้งานเป็นจำนวนมากหลายยี่ห้อ  เราควรที่จะคำนึงถึงประสิทธิภาพเป็นสำคัญ  เพราะบางยี่ห้ออาจจะราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพเลย  รวมไม่ถึงความเสถียนของเมนบอร์ดด้วย  อาจจะไปยังเว็บบอร์ดต่างๆ  หรือเว็บที่เค้ารีวิว ให้เรารู้ถึงประสิทธิภาพ  รวมไปถึงการสอบถามไปยังคนที่ได้ลองใช้แล้วเป็นอย่าง  สมควรซื้อหรือไม่  และการทำงานว่าเป็นอย่างไร  และก็การรับประกันจากตัวแทนจำหน่ายด้วย  ส่วนมากในปัจจุบันจะรับประกันถึง 3 ปี เพราะในบางครั้งทางร้านเองก็อาจจะไม่สามารให้ข้อมูลได้ตรงกับข้อมูลจริงถ้า ยังไงเราควรที่จะหาข้อมูลจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรงจะถูกต้องกว่า
ขอบคุณเวปไซต์ : http://www.comsimple.com/
7.8 เลื้อกซื้อแรม
สำหรับแรมผมได้กล่าวไว้แล้วว่ามีหน้าอะไรบ้าง  สำหรับแรมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันเพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกให้ถูก วิธีด้วย  สำหรับขึ้นตอนการเลือกซื้อแรม  มีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของแรม
แน่นอนครับสำหรับประเภทของแรมนั้น  ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน  โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต  สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผมจะแนะนำนะครับ ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แต่ต่างกัน
1.1 DDR 2
สำหรับ DDR 2 นั้นมีความนิยมเป็นอย่างยิ่งในขนาดนี้ถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว  เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมด แล้ว  แล้วราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ  และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว  มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIz ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V
1.2  DDR3
เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHz เลยทีเดียวครับ  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4 มาแล้วเอาไว้คราวหน้าตอนที่มีคนใช้เยอะๆ  จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนราคาตอนนี้ยังสูงอยู่  แต่ถ้าใครต้องการซื้อหรือมีตังพอไม่ขัด ครับ  เพราะว่ากำลังจะเป็นที่นิยมกันแล้ว  แต่ต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับหรือไม่  เพราะว่ายังมีเมนบอร์ดที่ยังไม่รองรับอีกเยอะครับ  ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด

2.หน่วยความจำ
แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก  ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วย  โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GHz  ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก  แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา  เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ
3.ความเร็ว
ความเร็วหรือว่า บัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้ เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน  แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน  หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็ สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรม ก็เท่ากับ  เมนบอร์ดรองรับ  และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน  มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง
4.ก็การเลือกยี่ห้อ
การเลือกยี่ห้อนั้นแล้วแต่ศรัทธาครับ  ไม่ว่ากันแต่จะมีการรับประกันที่แต่ต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเองครับ  อย่างเช่นการเครมที่ไหม้ได้ไม่ได้  รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้นส่วนตัวผมเอง  ใช่มาหลายยี่ห้อแล้วไม่ต่างกันเลย  เพราะฉะนั้นอยากได้ยี่ห้อไหนรับประกันดีเป็นพอครับ  อันนี้ไม่เกี่ยวกับหน้าตาคนขายนะครับ
ขอบคุณเวปไซต์ : http://www.comsimple.com/
7.9 เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
สำหรับฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก  เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีการเลือกซื้อให้เหาะสมกับความต้องการของเรา  ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ได้มีราคาต่อความจุถูกมาก  และมีความเร็วที่แตกต่างกัน  จะข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  คือ  (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
– แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้  เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า  และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
– แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก  เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว  และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA

2.ขนาดของความจุ
ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล  นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง  เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน  ไม่รู้จักเต็มสักที  แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
3.ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์  คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว  ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (rpm)  ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว  และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์
บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองครับ  เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์   ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลา ที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก  โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม  แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง  ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์  ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Seek Time) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอ ดี  ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง  ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็ว ขึ้น
ขอบคุณเวปไซต์ : http://www.comsimple.com/
7.10 การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

1. ตรวจสอบชนิดการเชื่อมต่อการจอภาพที่คุณต้องการ รูปแบบการเชื่อมต่อที่เมนบอร์ดรองรับ หรือหากซื้อเมนบอร์ดแล้วให้พิจารณาว่าจะใช้การ์ดแสดงผลที่เชื่อมต่อในรูปแบบ ใด หรืออาจจะพิจารณาเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อ จากนั้นจึงซื้อเมนบอร์ด และซีพียูก็ได้
2. ตรวจสอบการเข้ากันได้ของการ์ดแสดงผล โดยการ์ดแสดงผลจะมี AGP2x/4x/8x นอกจากนี้ยังมีแรงดันไฟที่ต่างกัน เช่น 3.3 โวลต์อีกด้วย
3. พิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้เมนบอร์ดที่รองรับการ์ดแสดงผลแบบใด แล้วจึงเลือกการ์ดแสดงผลที่ต้องการ หรือหากต้องการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลแบบคู่ก็ต้องเลือกตั้งแต่เมนบอร์ดเลยที เดียว
4. ตรวจสอบให้ดีว่าโปรแกรมหรือเกมที่คุณใช้นั้น รองรับเทคโนโลยีใดบ้าง แล้วจึงเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราใช้จริง

ชนิดของแรมบนการ์ด
แรมที่มี การนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลนั้น   ป้จจุบันนิยมใช้อยู่  3   แบบคือ DDR-SDRAM, DDR2 และ DDR3 และมาตรฐานในปัจจุบันคือ DDR2 และ DDR3
ขนาดแรมบนการ์ด
นอกจาก ประเภทของแรมแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องดูก็คือขนาดความจุของแรมที่ใช้ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วใน การทำงานของการ์ดแสดงผลด้วย    ยิ่งแรมมากเท่าไร  ก็จะช่วยให้เราสามารถปรับความคมชัดของสี/ค่าความลึกของสีได้มากขึ้น (ปัจจุบันอยู่ที่ 128 MB หรือสูงกว่า)
ขอบคุณเวปไซต์ : https://sites.google.com/site/singhaphothong/withi-leuxk-sux-xupkrn-khxmphiwtexr/withi-leuxk-sux-kard-saedng-phl
 7.11 เลือกซื้อจอแสดงผล
1. รูปลักษณ์ และความสวยงาม
หลายครั้งที่เรามักจะให้ความรู้สึกในเรื่องรูปลักษณ์เหนือกว่าประสิทธิภาพ ที่จะได้ รับ เช่นเดียวกับจอแอลอีดีก็เช่นกัน ที่ผู้ใช้มักจะเอาความสวยงามมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้เป็น เรื่องที่ผิดเสียทีเดียว เพราะเรื่องของดีไซน์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ต้องสัมผัส และพบเจอในการใช้งานอยู่ทุกวัน หากไม่สวยโดนใจ หรือไม่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมันก็คงดูขัดตา
นอกจากนี้ เรื่องของการออกแบบก็ยังรวมไปถึงฟังก์ชัน สำหรับการใช้งานต่าง ๆ เช่นผู้ที่นำไปใช้ใน การพรีเซนเทชั่นอาจเลือกเป็นจอที่ปรับมุมมองซ้าย – ขวา หรือก้มเงยได้สะดวก หรือบางคนอาจต้องการ ขนาดที่บางเพื่อที่จะจัดวาง หรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งด้านขอบจอที่บางก็ทำให้ หลายคนชอบเช่นกัน ในกรณีที่ใช้จอสองตัวในการเล่นเกม หรือทำงานกราฟิก ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเหล่านี้ ก็นำมาใช้ในการพิจารณาได้ดี2. ความละเอียด (Resolution)
คงเคยเห็นบ่อย ๆ สำหรับ Resolution ที่มักจะต่อท้ายรายละเอียดของรุ่นต่าง ๆ ของจอแอลอีดี จะได้รู้กันละครับว่าปกติแล้ว Resolution ของจอแอลซีดีปกติแล้วมีความละเอียดเท่าไหร่ ความละเอียดส่วน ใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15 นิ้ว ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024×768 แต่ถ้า เป็น 18.5 นิ้ว จะอยู่ที่ 1600×900 และ 21.5 นิ้วขึ้นไป 1920×1080 ซึ่งการจะเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมชมภาพยนตร์ งานเอกสาร ตัดต่อ กราฟิกก็ล้นแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป3. Response Time สำคัญเพียงใด
เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสี ในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W) หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา (G/G) โดยการบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะ ส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้า อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ภาพซ้อน หรือ Ghost เกิดขึ้น จนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบัน ควรจะอยู่ที่ 2-8 ms 4. Contrast Ratio
ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่าง และความมืด ว่ามีมากน้อย เพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่าง ๆ การเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 12,000,000 : 1ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง 100,000,000 : 1 ซึ่งก็แล้ว แต่การวัดว่าเป็นแบบ Dynamic หรือ Mega
5. พอร์ต D-Sub DVI, HDMI
ในส่วนของพอร์ตแสดงผล หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมี 2 แบบคือ ทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบัน แม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม แต่แนวโน้มในไม่ช้า กราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI เป็นส่วนใหญ่ครับ ซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็น แบบ Dual DVI อีกด้วยจึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้ นอกจากนี้ DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่า เนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย HDMI จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาพร้อมกัน HDMI จะเสถียรกว่า DVI
6. วิธีการเช็ค Dead Pixels และการรับประกัน Dead Pixels คือ จุดสีดำ Bright คือ จุดสี
การตรวจสอบ Dead หรือ Dot Pixel ก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ทางร้านจะมีการทดสอบให้ อยู่แล้ว ถ้าไม่มีโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบโดยตรง อาจใช้วิธีเบื้องต้นในการทดสอบง่าย ๆ โดยเปลี่ยน สีหน้าจอเดสก์ทอปให้เป็นสีขาว เหลือง แดง น้ำเงิน และดำ ทีละสีแล้วกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ จนแน่ใจว่า ไม่มีจุดสีที่แปลกเด่นขึ้นมาทำไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน หลังจากนั้นให้ปรับค่า Default ของหน้าจอให้เป็น แบบมาตรฐาน ดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ขอบของจอผิดเพี้ยน ความสว่างไม่เท่ากันหรืออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมี 4 จุดขึ้นไปถึงจะเปลี่ยนให้ ยกเว้นบางแบรนด์ 1 จุด จะเปลี่ยนให้ เงื่อนไขให้สอบถามทางร้านที่ซื้ออีกทีนึง
ขอบคุณเวปไซต์ : http://www.pantipplaza.com/page.php?aid=530&tmid=8&m=&bu=&lan=
7.12 การเลือกซื้อไดร์ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD-RW Drive)

การ เลือกออปติคอลไดรฟ์ ในปัจจุบันตัดสินใจค่อนข้างง่ายทีเดียว เนื่องจากไดรฟ์แบบ DVD±RW นั้นราคาถูกมาก เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท เท่านั้นสำหรับ Intemal ซึ่งราคาจะแพงกว่า DVD และ CD-RW อยู่เพียง 200-300 บาทเท่านั้น แต่สามารถเขียนและอ่านแผ่นได้ทั้ง DVD และCD ดังนั้นการลงทุนกับ DVD±RW จึงดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า แต่จะเลือกอย่างไรดีในเมื่อมีหลายรุ่นหลากยี่ห้อให้เลือกใช้
DVD+R/ DVD-R/ DVD-RAM แตกต่างกันอย่างไร
แน่นอนว่า DVD Writer เครื่องหนึ่ง ไม่ได้มีฟังก์ชันเพียง DVD-R หรือ RW เท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ มากมายมาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น DVD-R/+R, DVD±RW , Dual Layer หรือ Double side แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร ใช้งานแบบไหน ลองมาดูกัน DVD-R : เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป การทำงานง่ายๆคือ การเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเขียนซ้ำได้ DVD+R : มีความสามารถเหมือนกับ-R แต่มีความพิเศษที่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้ แต่เขียนซ้ำและลบข้อมูลไม่ได้ DVD RW : เป็นแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นที่ รองรับการเขียนและข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง แต่เปลี่ยนข้อมูลทั้งแผ่น DVDRAM : เป็น รูปแบบการเขียนข้อมูลแบบพิเศษ ด้วยการเขียนข้อมูลลงแผ่นได้เฉพาะส่วนและเลือกลบข้อมูลจากส่วนใดก็ได้ไม่จำ เป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งแผ่นแบบ DVD-RW แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากแผ่นมีราคาสูงและหายาก DVD Dual Layer : เดิม รูปแบบของแผ่นที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบ Single Layer คือ การเขียนข้อมูลแบบชั้นเดียว แต่สำหรับแผ่น Dual Layer จะมีการเคลือบสารเคมีสองชั้นจึงทำให้เขียนข้อมูลได้ 2 ระดับ เก็บข้อมูลได้มากกว่าปกติเท่าตัวหรือประมาณ 9GB นั้นเอง DVD Double side : การ เก็บข้อมูลจะคล้ายกับ Dual Layer ซึ่งได้ความจุที่ 9GB เช่นเดียวกัน เพียงแต่การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบหน้าและหลัง ต้องมีการกลับแผ่นในการใช้งาน
ขอบคุณเวปไซต์ : http://thaitipcom.blogspot.com/2009/06/tip-dvdrw.html



7.13 การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์


เปรียบเทียนเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นด้วยผลงานแบบที่เราต้องการ เพราะงานพิมพ์เอกสาร กราฟิกและรูปถ่ายนั้นต้องการเครื่องพิมพ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นจะพิมพ์เอกสารได้ดีกว่า ส่วนเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจะพิมพ์ทั้งรูปภาพและกราฟิกได้ดีกว่า
ถ้าหากไม่ต้องการพิมพ์งานสี เครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาวดำอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะนอกจากให้ความเร็วที่เหนือกว่า แล้วยังให้คุณภาพงานพิมพ์เอกสารและกราฟิกดีกว่า
อย่าเปรียบเทียบความเร็วในการพิมพ์จากค่าที่บริษัทใช้โฆษณา แต่ให้เทียบความเร็วในการพิมพ์ที่ความละเอียดที่เราต้องการใช้งาน เพราะเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจะใช้ความเร็วสูงสุดเป็นจุดขาย แต่เราจะใช้งานที่ความละเอียดสูงบ่อยกว่ามาก
ตรวจสอบการเชื่อมต่อ ถ้าหากเรายังใช้เครื่องรุ่นเก่าหรือระบบปฏิบัติการตัวเก่าที่ไม่สนับสนุน USB ต้องแน่ใจว่า เครื่องพิมพ์ที่ซื้อนั้นต่อพวงกับพอร์ตขนาน
ทางเลือกที่ควรจะเลือกสำหรับเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานร่วมกัน คือ ต่อตรงเข้าเน็ตเวิร์กได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบวิธีการเชื่อมต่อ และซอฟต์แวร์ในการควบคุมตรวจสอบเครื่องพิมพ์ที่ให้มาด้วยว่าสามารถใช้งาน ร่วมกับเน็ตเวิร์กที่ใช้งานอยู่ได้หรือไม่
เครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มหน่วยความจำได้ บางรุ่นภายในเครื่องอาจไม่มีหน่วยความจำมาให้หรือมีเพียงเล็กน้อย เพราะว่าจะทำงานทั้งหมดจากคอมพิวเตอร์ก่อน ในกรณีที่สามารถอัพเกรดหน่วยความจำได้ ตรวจสอบก่อนว่าเครื่องพิมพ์มีหน่วยความจำมาให้เพียงพอกับที่เราต้องการ เช่นเราอาจจะต้องอัพเกรดหน่วยความจำให้สูงขึ้นเพื่อจะสามารถพิมพ์งานที่ความ ละเอียดสูงสุด
ยิ่งถ้าเราเปลี่ยนอุปกรณ์สิ้นเปลืองน้อยครั้งเท่าใดยิ่งดี ถ้าเราพิมพ์เอกสารวันละ 25 แผ่น แต่เครื่องพิมพ์รองรับกระดาษได้ 25 แผ่นเช่นกัน เราจำเป็นต้องใส่กระดาษทุกๆ วัน ในขณะที่เครื่องพิมพ์รองรับกระดาษได้ถึง 250 แผ่นนั้น เราเพียงแค่ใส่กระดาษเพิ่มอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องที่จุกระดาษและหมึกได้มากพอกับความต้องการใช้งาน โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยเกินไป
ถ้าหากจำเป็นต้องพิมพ์งานปริมาณมากจริงๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ จะต้องตรวจสอบปริมาณงานพิมพ์ที่เครื่องนั้นรองรับต่อเดือน โดยเครื่องที่เลือกใช้นั้นควรจะรองรับงานพิมพ์ได้ประมาณ 4 เท่าของงานพิมพ์จริงที่เราต้องการ
ก่อนจะซื้อเครื่องพิมพ์ ควรตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ผลิตเสียก่อน เพื่อดูว่าบริษัทมีการอัพเดตไดรเวอร์และมีข้อมูลทางเทคนิคบริการเอาไว้ให้
เมื่อต้องการเปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายจริงที่จะเกิด ขึ้น อุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องเช่น สายไฟ สายสัญญาณ ความจุของวัสดุสิ้นเปลือง ตลับหมึก ไม่ใช่เพียงแค่ดูจากราคาเครื่องที่แตกต่างกันเท่านั้น เพราะยิ่งถ้าหากเราพิมพ์งานมาก ค่าใช้จ่ายต่อแผ่นที่แม้จะต่างกันเพียบเล็กน้อยย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายโดย รวมทั้งหมดได้เช่นกัน

อ้างอิง ;https://glaharnphinthisueb.wordpress.com/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E/ 

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

http://www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf


 พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ 
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 
เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ 
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท 
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท 
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ 
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง 
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้ 
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัด ไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด 
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ 
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรี
มีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
อ้างอิงจากhttp://www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf